รายละเอียดประกาศ

พระพุทธเจ้าท่านประกาศพรหมจรรย์ และให้สาวกไปประกาศพรหมจรรย์? มีความบริสุทธิ์บริบูรณ์? งามในเบื้องต้นท่ามกลางและสิ้นสุด โดยนัย
1. หลัก 4 คืออริยสัจ 4
สภาวธรรม (ธรรมชาติ)
สัจจะธรรม (กฎของธรรมชาติ)
ปฏิบัติธรรม (หน้าที่ของธรรมชาติ)
ปฏิเวธธรรม (ผลของธรรมชาติ)
วิธีการ 3 คือไตรสิกขา
ศีล (เห็นความสามัญ คิดความสามัญ)
สมาธิ (บริสุทโธ สมาหิโต กรรมนีโย ?บริสุทธิ์ ชัดเจนมั่นคง ว่องไว)
ปัญญา (รู้ครบถ้วนในสิ่งที่สังขารกันขัน)
วิถีทาง 8 คือมรรคมีองค์ 8
สัมมาทิฏฐิ (เห็นความสามัญ)
สัมมาสังกัปปะ (คิดความสามัญ)
สัมมาวาจา? (สัจจะวาจา)
สัมมากัมมันตะ (การกระทำไม่มีตัวผู้กระทำ)
สัมมาอาชีวะ (ดำรงชีวิตโดยธรรม)
สัมมาวายามะ (ดำเนินไปโดยธรรม)
สัมมาสติ (รู้สิ่งที่ถูกรู้)
สัมมาสมาธิ (บริสุทธิ์ ชัดเจนมั่นคง ว่องไว เอกคตาจิตมีนิพพานเป็น สัจจะ กิจจะ กต)
กาลก่อนก็ดี เดี่ยวนี้ก็ดี พระพุทธเจ้าท่านแสดงธรรมเพียงเท่านี้ ท่านไม่ได้ประกาศศาสนา ท่านประกาศพรหมจรรย์ ท่านทั้งหลายจงเห็นสิ่งที่ถูกเห็น จงรู้สิ่งที่ถูกรู้ อย่าเอาความเห็นไปเห็น อย่าเอาความรู้ไปรู้จงเอาความเห็นเป็นหลัก จงเอาความรู้เป็นหลัก ก็จะปราศจาก 3 อ.
อ. อคติ
อ. อัตตา
อ. อวิชชา
ชีวิตก็จะสงบสันติ ปราศจากความเกิด ปราศจากความแก่ ปราศจากความตาย มีแด่ธรรมชาติเพรียวๆดำเนินไป
(สุทธิ ธัมมา ปวัตตันติ) ?ตามที่พุทธพจน์กล่าวว่า? ถ้าใครเอาเราเป็นกัลยามิตรจะถึงความไม่ตาย มัจจุราชจะมองไม่เห็นตัวท่าน
{บุญคืออะไร}
มากุศลคือ อะไร คือ กิจกรรมอันไดที่เป็นปัจจัยให้ปราศจากตัวตน? กิจกรรมนั้นๆคือกุศล
บุญคืออะไร คือ ภาวะที่ปราศจากตัวตน นั้นคือ บุญ
บุญมีประโยชน์อย่างไร มีประโยชน์คือ การทำกิจกรรมที่มีภาวะปราศจากตัวตน ก็เห็นรู้วิชาในกองสังขารนั้นๆ ก็จะมีเครื่องมือ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา กระทำต่อกิจกรรมนั้นโดยมัชฌิมาปฏิปทา จรึงปรากฏแห่งภาวะ จะทำก็ชัดเจน กำลังทำก็คล่องแคล่วมันคงทำเสร็จแล้วก็สงบสันติ (ปฏิจสมุปันธรรม กุศล-บุญ-สัจจ-กิจจ-กต)
นี้คือพุทธศาสตร์ หรือเรียกว่าพรหมจรรย์ ที่พุทธให้ไปประกาศพรหมจรรย์ มิใช่ประกาศศาสนา เรื่องของศาสนา กับพรหมจรรย์คนละแบบอย่าง
การที่ประกาศศาสนาสอนให้พึ่ง พระพุทธ พึ่งพระธรรม พึ่งพระสงฆ์ให้พึ่งสิ่งอื่น ทำบุญทำทานรักษาศีลฟังธรรมสั่งสมไว้เป็นทุนข้างหน้าทำกิจกรรมที่มีข้อแลกเปลี่ยน รักดี เกียดชั่ว ทำไปโดยตอบสนองเวทนา ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว แสวงหาเยื่อ ไม่รู้จบ
การที่ประกาศพรหมจรรย์ แสดงธรรมให้ เป็นพระพุทธเป็นพระธรรม เป็นพระสงฆ์ พึ่งตนเพราะตนเป็นพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์แล้ว การกระทำที่มีหลัก 4 อย่าง อริยสัจ วิธีการ 3 ไตรสิกขา ทำดีดี ทำชั่วชั่วไม่ต้องรอเวลา ทำเสร็จก็วางตรงนั้นไม่ต้องสะสม? ทำโดยมีศักยภาพ มีสัจญาณ มีกิจญาณ มีกตญาณ มีพระพุทธเป็นความรู้ มีพระธรรมเป็นสิ่งที่ถูกรู้ มีพระสงฆ์ในการปฏิบัติหน้าที่ของสิ่งที่ถูกรู้ การที่ประกาศพรหมจรรย์ก็ คือ แสดงซึ้งความจริง 4 อย่าง ของสังขารทั้งหลายให้เห็น ให้รู้ โดยธาตุ โดยธรรม? ธรรมทั้งหลายมีภาวอนัตตา สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงความจริง 4 อย่างคืออริยสัจ ความจริง 4 คือวิชาการ ความจริง 4 อย่างคือความจริงของกองแห่งสังขารทั้งหลายหลัก 4 อย่าง
1. ทุกขอริยสัจ-สภาวธรรม-ธรรมชาติ [Nature]
2. ทุกข์สมุทัยอริยสัจ-สัจธรรม-กฎของธรรมชาติ-ขบวนการของธรรมชาติ [Process Low of Neuter]
3. ทุกขนิโรธอริยสัจ-ปฏิบัติธรรม-กิจ-หน้าที่ของธรรมชาติ [Duty nature]
4. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจปฏิเวธธรรม -ปรากฏการของธรรมชาติ-ผลของธรรมชาติ
นี้คือ วิชา นี้คือ ธรรม วิชาหรือธรรม เป็นสิ่งที่ถูกรู้ ถูกเห็น เมื่อเห็นรู้ธรรมก็จะปรากฏปํญญา (ปฏิจสมุปันธรรมของปัญญาคือ ธาตุรู้กับสิ่งที่ถูกรู้)? เมื่อปัญญาปรากฏ ก็จะมีเครื่องมือ 3 อย่างคือ ศีล สมาธิ ปัญญา นี้คือ จรณ 3 อย่าง
1. ศีล คือ สัมมาทิฐฐิ? เห็นความปกติ เห็นความสามัญ ของสิ่งที่ถูกเห็น สัมมาสังกัป คิดความสามัญคิดความปกติของสิ่งนั้น
2. สมาธิ คือ บริสุทโธ ความเห็นรู้ที่บริสุทธิ์ (เพรียว) สมาหิโต ชัดเจนมั่นคง (คอนธ์เซ็นเตนส) กรรมนีโย คล่องแคล่วว่องใว (เอสทีนเน็ค)
3. ปัญญา คือ รู้คบองค์ 4 ในกองสังขาร
พจนุกรมธรรม
สาธุคือ ครับ-ทราบ-เข้าใจ
สังขาร คือกระทำพร้อม
ญาติ คือ รู้แล้ว
จรรย์ คือ ความประพฤติ
พรหม คือบริสุทธิ์ บริบูรณ์
ประมาท คือ เมาทั่ว
ศักดิ คือ อำนาจ
สิทธิ คือ สำเร็จ
สภาว คือ เป็นอยู่เอง
อภิ คือ อย่างยิ่ง
สติ คือ รู้กิจสิ่งที่ถูกเห็น
สมาธิ คือ สมบูรณ์ในกิจนั้น
อุทิศ คือ ให้
คำตรัสของพระพุทธเจ้า
ผู้ไดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ถ้าไม่เห็นธรรม แม้แต่จับชายจีวรเราอยู่ก็หาได้เห็นเราไม่
โยโว อันนท มยาธัมโม จ วินโย เทสิโตปัญญัต โสโว มมญจ เยน สกูลา-ธรรมและวินัยที่ตถคตแสดง ที่บัญญติแล้ว ธรรมและวินัย เป็นศาสดาท่านทั้งหลายเมื่อเราล่วงรับไปแล้ว
ถ้าใครเอาเราเป็นกัลยาณมิตร จะถึงความไม่ตายมัจจุราชจะมองไม่เห็นตัว
สิทธิ ธัมมา ปวัตตันติ ธรรมชาติล้วนๆหมุนเวียนไป
สัมมาทิฎฐิ สมาทานัง สัพพัง ทุกขัง อุปัจจคุง -จะปราสจากทุกข์ ทั้งหลายได้โดยสมาทาน สัมมาทิฎฐิ
สุขทุกข์ ไม่ได้เกิดมาจากกรรมเก่า สุขทุกข์เกิดมาจากความเห็นผิดแต่กรรมเก่าเป็นเพียงปัจจัยให้เกิดความเห็นผิด
วิชา 4 จรณ 3 เอกายโน ภิกฺขเว มัคโค- ภิกขุ ทางนี้เป็นสายเดียว เพื่อคนๆเดียว
เย ธัมมา เหตุปัญ ภวา เตสัง เหตัง ตถาคโต-สิ่งทั้งหลายล้วนแต่มีเหตุเกิดเพราะเหตุ ดับไปก็เพราะเหตุดับ
พระพุทธ เจ้า คือใครคือ
พระพุทธ คือ ความรู้ที่ตื่น คือความสอาด ความสว่างมีภาวแห่งความสงบ
พระธรรม คือ ธรรมชาติ กฎของธรรมชาติ หน้าที่ของธรรมชาติ ผลิตของธรรมชาติ (สัจจะ 4 )
พระสงฆ์ คือ ปฏิบัติตามกฎของหน้าที่ธรรมชาติ (มรรคมีองค์

พระพุทธ เป็นพ่อ พระธรรมเป็นแม่ พระสงฆ์ ปรากฏทำหน้าที่โดยธรรม เพราะวิชา 4 ประจักรคือ ความจริงของสิ่งที่สังขาร คือ
1. ทุกขอริยสัจ-สภาวธรรม-ธรรมชาติ? [Nature]
2. ทุกข์สมุทัยอริยสัจ ?สัจธรรม-กฎของธรรมชาติ-ขบวนการของธรรมชาติ-[Process Low of Neuter]
3. ทุกขนิโรธอริยสัจ-ปฏิบัติธรรม-หน้าที่ของธรรมชาติ [Duty]
4. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ-ปฏิเวธธรรม-ผลของธรรมชาติ-ปรากฏการของธรรมชาติ
เมื่อประจักรต่อวิชา 4 แล้วก็จะปรากฏวิธีการ 3 เป็นเครื่องมือปฏิบัติความเป็นธรรมต่อกองสังขารนั้นๆนี้และคือการปฏิบัติธรรม ถ้าไม่เห็นรู้ความจริงของสังขาร นั้นๆจะทำหน้าที่โดยธรรมต่อสิ่งนั้นได้อย่างไร? ถ้าปฏิบัติโดยความไม่เป็นธรรมต่อสิ่งนั้น? จะชื่อว่าปฏิบัติธรรมได้ไหม นี้คือคำตอบที่ถูกถามอยู่บ่อยว่าศึกษาธรรมแล้วปฏิบัติหรือเปล่าวิธีการ 3 คือ ศีล สมาธิปัญญา
1. ศีล คือความเห็นที่เห็นความสามัญของสังขารนั้น คิดกระทำโดยความสามัญของสังขารนั้น มีศิลปะในความคิด มีศิลปะในการกระทำ
2. สมาธิ คือ บริสุทโธ สมาหิโต กรรมนีโย เห็นรู้อย่างเพรียว มีความชัดเจนมันคง มีความแคล่วคล่องว่องไว
3. ปัญญา คือ เห็นรู้ความจริงคบถ้วนในสังขารนั้น
ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นเครื่องมือที่จะปฏิบัติธรรมโดยบริสุทธิ์บริบูรณ์ ที่พระพุทธเจ้าท่านประกาศพรหมจรรย์ให้กับ เวไนยสัตว์