ห้องสมุดพุทธศาสตร์ ห้องสมุดพุทธศาสตร์


ข้อมูลเจ้าของประกาศ/ผู้โพส

admin

  • Administrator
  • Newbie
  • *****
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: อ๊อด BR
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: 0985953696
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: ละหานทราย
  • ระบุจังหวัด: บุรีรัมย์

ข้อมูลประกาศ

« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 16, 2558, 05:54:21 PM เข้าชม 8314 ครั้ง| 0 คอมเมนต์ »



  ประเภท : บอร์ดสนทนา                


รายละเอียดประกาศ




หลักสูตรพุทธศาสตร์ที่บัญญัติไว้ในพระไตรปิฎก 8400 ธรรมขันธ์
มีหลักสูตรคือ
1.   วิชชาการ 4 (อริยสัจ 4)
2.   วิธีการ 3 (ศีล สมาธิ ปัญญา)
3.   ปฏิบัติการ 8 (อริยมรรคมีองค์ 8)
เริ่มต้นต้องศึกษาอริยสัจ 4 ให้เห็นแจ้งรู้จริงในรูปวิชาการ อริยสัจ 4 คือ
1.   ธรรมชาติ
2.   กฎของธรรมชาติ
3.   กิจของธรรมชาติ
4.   ปรากฏการณ์ของธรรมชาติ
อริยสัจประกอบด้วยสี่ส่วนจรึงมีคุณลักษณ์ 4 อย่างคือ
1.   ลักษณะ- ทนต่อการพิสูท
2.   อาการ- ทรงอยู่โดยไม่อาศัยปัจจัย
3.   กิจ- ครอบงำสังขารทั้งหลาย
4.   รส- มีวิมุตที่เรียกมาดูได้
อริยสัจ 4 คือ ความจริงของสิ่งที่สังขารกันขึ้น คือ
1.   เห็นธรรมชาติของปัจจัยที่จะมาสังขารกัน
2.   เห็นกฎขบวนการของการสังขาร
3.   เห็นหน้าที่ของการสังขาร
4.   เห็นผลปรากฏการสังขาร
             ทุกสิ่งทุกอย่างปรากฏขึ้นโดยการสังขารประกอบโดยรูปนามให้เห็นเป็นธรรมชาติล้วนๆดำเนินไปเท่านั้นก็ประจักเป็นวิชาที่บริสุทธิ์บริบูรณ์วิธีการก็ปรากฏมีเครื่องมือ เป็นผู้ที่มีศีล ศีลทำให้ปรากฏสมาธิ สมาธิทำให้รู้สิ่งที่สังขารกันขึ้นอย่างครบถ้วนคือปัญญา  ศีล สมาธิปัญญาเป็นเครื่องมือที่จะปฏิบัติหน้าที่นั้นๆได้โดยวิถีทาง 8 ประการอย่างบริสุทธิ์บริบูรณ์นี้คืออริยมรรคมีองค์ 8 ประการ คือ
1.   สัมมาทิฏฐิ- เห็นความสามัญ
2.   สัมมาสังกัปปะ –คิดโดยความสามัญ
3.   สัมมาวาจา- วาจาสัจจะพูดสิ่งที่เป็นสัจจะบัญญัติ
4.   สัมมากัมม้นตะ- การกระทำไม่มีตัวตนมีแต่การกระทำหาผู้ทำมีไม่
5.   สัมมาอาชีวะ- ดำรงค์ชีวิตอย่างปกติมีความพอดี
6.   สัมมาวายามะ- ดำเนีนไปโดยความมั่นคง
7.   สัมมาสติ-รู้กิจต่อหน้าอย่างทั่วถึงครบถ้วน
8.   สัมมาสมาธิ-เห็นรู้อย่างบริสุทธิ์ ขัดเจนมั่นคง ว่องไวต่อสิ่งที่สังขารกันขึ้นอย่างทั่วถึงครบถ้วน
     นี้คือ “นิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจจัง” ท่านทั้งหลายจงใช้ข้อมูลความเปลี่ยนแปลงความไม่คงที่ความไม่คงรูป มาพิจารณาให้ท่องแท้ อะไรคือสังขาร อะไรคือธรรม มาแยกแยะให้ชัดเจนอย่างบริสุทธิ์บริบูรณ์ จงมาศึกษาว่า ปัจจัยที่มีเหตุให้สังขารกันขึ้นนั้นโดยความเป็นธรรมได้อย่างไร ศึกษาโดยนัยธรรมชาติ 4 อย่าง (อริยสัจ 4)ให้จงได้ นี้คือวิชาการที่ครอบงำสิ่งที่สังขารกันขึ้น “ที่พระพุทธองค์กล่าวว่า สิ่งทั้งหลายมีความเปลี่ยนแปลงเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทเถิด”  นี้คือศึกษาแบบมีวิชา  ถ้าวิชามี วิธีมา ปฏิบัติการปรากฏ นึ้คือหลักวิชาพุทธศาสตร์ ถ้าท่านศึกษาอย่างนี้ จะได้ผลทันทีขาตินี้ ไม่ต้องใช้เวลา เป็นอะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีตี นึ้คือจิตสะอาดใจสว่างชีวิตสงบ
     มาอ่านหนังสือให้ออกกันไหม
•   คำว่า สังขาร คือ ปรุง หรือการสังเคราะห์กันขึ้น  ร่างกายไม่ใช่สังขาร แต่ร่างกายสังขารกันขึ้น มาทำความเข้าใจให้ชัดเจนกันก่อน เพราะคำว่าสังขารเป็นข้อมูลทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฏขึ้นในทุกๆวิชาการ ใช้คำว่าสังขารไม่เที่ยง ผิดอัฐผิดธรรม ต้องใช้คำว่าสิ่งที่สังขารกันขึ้นไม่เที่ยง
•   คำว่า ประมาท คือ เมาทั่ว เมาไม่เหลือส่วนที่ไม่เมา
•   คำว่า อวิชชา คือ ไม่ใช่วิชชา  ใช้คำว่าไม่รู้ ผิดอัฐผิดธรรม
•   คำว่า จิต คือความคิด
•   คำว่า ใจ คือความรู้
จงจำคำนี้ไว้ในการศึกษาธรรมชาติ ทุกอย่างสังขารกันโดยธรรมชาติ
•   หลักวิชา 4 วิธีการ 3 ปฏิบัติการ 8
•   เห็น คิด รู้
•   วิชชาสะอาด วิธีสว่าง ปฏิบัติราบรื่น
•   วิชามี วิธีมา ปฏิบัติการปรากฏ
•   ทุกอย่างสังขารขึ้นโดยธรรมชาติ ต้องบริหารจัดการอย่างธรรมชาติ โดยธรรมชาติ
•   จิตสะอาด ใจสว่าง ชีวิตสงบ
•   อคติไม่มี อัตตาไม่มา ปัญญาปรากฏ
•   ในโลกนี้ไม่มีอะไรที่ไม่ใช่ธรรมชาติ
•   จะศึกษาวิชาใดต้องศึกษาให้รู้จักธรรมชาติของวิชานั้น
•   ธรรมชาติมีคุณสมบัติ 4 อย่าง คือ
1.   ธรรมชาติ
2.   กฎของธรรมชาติ
3.   กิจของธรรมชาติ
4.   ปรากฏการของธรรมชาติ
1.   คืออะไร
2.   มาจากอะไร
3.   เพื่ออะไร
4.   โดยวิธีใด


             

              วิชฃานี้ครอบคลุมทุกๆวิชชาการ ถ้าต้องการศึกษาวิชาการนี้ต้องศึกษาสื่อสานสองทางก่อน จาก โทร 060 004 7762-092 442 9050


ทำกิจกรรมอย่างไรเป็นกุศล
               กิจกรรมสิ่งใดที่เป็นกุศลกิจกรรมนั้นจะมีผลคือบุญ บุญมีคุณสมบัติชำระล้างจิตใจให้สะอาดปราศจาก อคติ อัตตา อวิชา  บาปมาจากจิตใจที่ไม่สะอาด บาปเปรียบเสมือนสนิมเหล็ก สนิมเหล็กเกิดจากเหล็กที่ไม่สะอาดเกิดทำลายเหล็กเอง ถ้าเวรกรรมตามมาคงตามไม่ทันหลอกเพราะกรรมมันตาม
              ทำกุศลกับพระมีผลเป็นบุญ ความเป็นแม่พ่อเป็นพระอริยของบุตร พระในธรรมวินัยนี้ต้องมีปาริสุทธศีล 4 คือ
1.   ปาติโมกข์สังวร สังวรในสิกขาบท 227
2.   อินทรีสังวร  สังวรใน ตา หู จมูก ลิ้น กาย
3.   อาชีวบริสุทธิ ดำรงชีวิตอย่างบริสุทธิ
4.   จตุปัจจัยปัจเวขณ ใช้ส้อยปัจจัยพิจารนาอันควร ไม่เอาปัจจัยมาเป็นของตนไม่ได้ เกินมูลค่า 20 บาทต้องปราชิกสิ้นสุดแห่งความเป็นพระทันที
           ผู้ที่ถวายปัจจัยให้ผู้ที่แต่งตัวเหมือนพระเป็นบาป “พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นผู้เลี้ยงโจร “เป็นบาป จงอย่าทำกุศลเพื่อการแลก จงอย่าทำกุศล เพื่อสวย เพื่อรวย เพื่อความโชกดี เพื่อไม่เจ็บไม่จน ต้องไม่ขอเอา “พระพุทธเจ้าไม่ได้แสดงธรรมให้ขอเอา” เมื่อจิตสะอาด ใจก็สว่างเห็นสิ่งนั้นได้อย่างชัดเจนครบถ้วน ก็มีวิธีการปฏิบัติหน้าที่นั้นๆในวิถีทางที่สมบูรณ์ ผลผลิตก็ย่อมสมบูรณ์เป็นธรรมดา  เมื่อเหล็กบริสุทธิจะมีสนิมได้อย่างไร
         ผู้ที่มุงหวังบุญจงทำกิจกรรมอันใดต้องไม่มี อคติ อคติไม่มี อัตตาไม่มา วิชาปรากฏ กิจกรรมนั้นย่อมเป็นกุศลผลบุญปรากฏ ให้จิตสะอาด ใจก็สว่าง ชีวิตก็สงบ นิพพาน “พระพุทธเจ้าตรัสว่านิพพานเป็นบรมธรรม”

   

                                   ธรรรมมะคืออะไร
ธรรมมะคือ  ธรรมชาติ
ธรรมมะคือ  กฎของธรรมชาติ
ธรรมมะคือ  หน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ
ธรรมมะคือ  ผลอันเกิดขึ้นจากการทำหน้าที่นั้น
 
พระพุทธคือ  ความรู้ที่บริสุทธิ์บริบูรณ์
พระธรรมคือ  ธรรมชาติของทุกสิ่งทุกอย่าง โดย ของที่ถูกเห็นโดยความบริสุทธิ์บริบูรณ์
พระสงฆ์คือ  ทำหน้าที่โดยความเป็นธรรมต่อหน้าที่ธรรมชาตินั้น
       ( นี้คือสิ่งที่ท่าน ต้องมี ต้องปรากฏในบุคลิกของท่าน )
 
 
 
     ศีลคืออะไร
     ศีลมาจากอะไร
     ศีลเพื่ออะไร
     ศีลโตยวิธีได
1.   ศีล คือ สัมมาทิฏฐิ  สัมมาสังกัป     คือความเห็นความสามัญของสิ่งที่ถูกเห็น  คิดความสามัญของที่เห็น คือ ศีล   ศีลมิใช่สิกขาบท 5-8-10-227 ถ้ายังละเมิดสิกขาบทเหล่านี้อยู่ก็ต้องละเว้นให้หมดจดก่อนจรึงจะมาสมาทานสัมมาทิฏฐิ (สัมมาทิฏฐิ สมาทานัง สัพพัง ทุกขัง อุปัจจคุง)
2.   ศีล มาจากสมาทานสัมมาทิฏฐิ  (สัมมาทิฏฐิ สมาทานัง สัพพัง ทุกขัง อุปัจจคุง)
3.   ศีล เพื่อดำเนินไปในกิจการนั้นๆโดย มีเทคนิค  โดยมีศิลปะ  [art]
4.   ศีล  โดยวิธีทำให้ เห็นสิ่งที่ถูกเห็น คิดสิ่งที่เห็น โดยความบริสุทธิ์ 
ท่านจงทำความประจักษ์ในคุณสมบัติของศีล ก็จะได้สมาทานสัมมาทิฏฐิ ท่านก็จะมีศีล การที่มีศีลก็จะปรากฏสมาธิ  (บริสุทโธ  สมาหิโต  กรรมนีโย )
 
 
 
1. สมาธิคือ อะไร
2. สมาธิมาจาก อะไร
3. สมาธิเพื่อ อะไร
4. สมาธิโดยวิธีใด
สมาธิ คือ  เอกคตาจิตที่มีนิพพานเป็นอารมณ์
สมาธิ มาจาก  ความบริสุทธิ์หนึ่งเดียว  ความชัดเจนมั่นคง  ความว่องไว (บริสุทโธ  สมาหิโต  กรรมนีโย)
สมาธิ เพื่อเห็นกองสังขารให้ครบถ้วน  คือสภาวะของปัญญา
สมาธิ  โดย  มีศีล เห็นความสามัญสิ่งที่มาสัมผัสกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ  คิดความเป็นสามัญของสิ่งที่มาสัมผัส    โดยความบริสุทธิ์ หนึ่งเดียว จงเห็นสิ่งที่ถูกเห็น จงรู้สิ่งที่ถูกรู้  อย่าเอาความรู้ไปรู้   อย่ารู้เห็น  จงเห็นรู้   เมื่อเห็นรู้อะไรเพียวๆแล้วก็จะ ชัดเจนมั่นคง เมื่อมีความมั่นคง ก็จะว่องไว พร้อมที่จะทำหน้าของ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ  โดยปราศจากนิวรณ์  5 ประการ
1.   กามฉันทะ / ความพอใจรักใคร่ในอารมณ์ที่ชอบใจ[content]
2.   พยาบาท / การคิดปองร้ายผู้อื่น[vengefulness]
3.   ถีนะมิทธะ / ความที่จิตหดหู่    เชื่องซึม[to lament]
4.   อุทธัจจะกุกกุจจะ / ความฟุ้งซ่าน รำคาญใจ[to be annoyed by sty.]
5.   วิจิกิจฉา / ความลังเลสงสัย[to suspect]
ก็จะปรากฏความ  สะอาด  สว่าง  สงบ   ไม่เกิด แก่ เจ็บ ตาย ในโอปาฏิกะ กำเนิด  ก็จะทำหน้าที่โดยมัชฌิมาปฏิปทาโดยปราศจากทุกข์  เราก็คือ ธรรมชาติ  ทำหน้าที่ๆธรรมชาติมีให้ทำ  ทำเสร็จแล้วก็ส่งคืนธรรมชาติไป ก็จะนิพพานทุกๆหน้าที่      นิพพานเป็นบรมธรรม เป็นอย่างยิ่ง  พระพุทธเจ้าท่านกล่าว
องค์ของสมาธิ  ประกอบด้วยองค์ 3
1.   บริสุทโธ    [เพียว pure]
2.   สมาหิโต   [ชัดเจนมั่นคง  concentrate ]
3.    กัมนีโย  [พร้อมที่จะทำหน้าที่นั้นๆ  activeness ]
 
 
?     ปัญญา คือ อะไร
?     ปัญญา มาจากอะไร
?     ปัญญา เพื่อ อะไร
?     ปัญญาดำเนินไปโดยวิธีใด
 
1.   ปัญญา คือ ความเห็นรู้คบถ้วน  ในกองสังขารนั้นโดยในสัจจะ 4 อีกในหนึ่งหรือโดยวิชชา 4  จรึงบัญญัติว่าปัญญา
2.   ปัญญา มาจาก ธรรมชาติธาตุรู้ กลับธรรมชาติสิ่งที่ถูกรู้  ปฏิจปสมุปันธรรมกันขึ้น   สมังคีกันโดยความสมบูรณ์
3.   ปัญญา เพื่อ สมังคี กลับ ศีล สมาธิ ปรากฏเป็นไตรสิกขา เพื่อเป็นเครื่องมือ ทำหน้าที่ของธรรมชาติโดยธรรมชาติ ก็จะดำเนินไปโดยวิถีทางมัชฌิมาปฏิปทา
4.   ปัญญา ดำเนินไปโดยทำหน้าที่อย่างสมบูรณ์กลับทุกสิ่งที่สัมผัสเกี่ยวคล่อง ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ  โดยวิถีทางมัชฌิมาปฏิปทา เป็นวิถีทางที่ปราศจากทุกข์  เพราะไม่ได้เกิดจะเป็นทุกข์ได้อย่างไร  การเกิดทุกครั้งเป็นทุกข์ทุกครั้ง  การที่ทำหน้าที่โดยมีวิธีการ 3 อย่าง คือมี ศีล สมาธิ ปัญญา จรึงได้ทำหน้าที่โดยหน้าที่ โดยเห็นวิชชา 4  หรือสัจ 4 อย่างของสิ่งที่สังขารกันขึ้น  จึงปรากฏวิธีการ 3 อย่าง เพื่อทำหน้าที่ๆไม่มีคนทำ มีแต่การกระทำกลับสิ่งที่ถูกกระทำ  จึงได้ปราศจากเจตนา  ตามที่พุทธพจกล่าวว่า (เจตนาหัง ภิกขเว กัมมัง ) คำว่าเจตนาคือการกระทำที่มีผู้กระทำจึงปรากฏการเกิด ถ้าเกิดแล้วจะไม่ทุกข์ได้อย่างไร  ความเกิดเป็นสิ่งที่สังขารกันขึ้น เป็นธรรมชาติที่มีลักษณะ 3 อย่าง    (1) มีธรรมชาติเป็นทุกข์ มีภาพทนอยู่สภาวะเดิมไม่ได้ (2) มีธรรมชาติเปลี่ยนแปลง รู้สึกต่ออารมณ์ (3) มีธรรมชาติมิใช่ตัวตน อาศัยการสังขารกันขึ้น   
                       เมื่อเห็นรู้สัจจะ 4 อย่างแล้วก็จะมีเครื่อง 3 อย่างทำหน้าที่ของธรรมชาติโดยธรรมชาติ นั้นคือวิถีทาง 8 อย่าง คือมรรคมีองค์ 8 เมื่อทำหน้าที่ๆสมบูรณ์ ก็ผลิตผลก็สมบูรณ์ สร้างศักยภาพให้กับผู้ทำหน้าที่ ก็จะตั้งบนวิหารธรรมของสมัตตะ 10 อย่าง  มีธรรมเป็นกัญยามิตร จะถึงความไม่ตาย มัชจุราชมองไม่เห็นตัวสงบสันติ  สะอาด สว่าง สงบ ฯ
   เมื่อท่านอุบัติขึ้นมาในโลก นี้แล้ว ทำหน้าที่ ได้เท่านี้ก็เพียงพอแล้วมิใช่หรือ จะต้องการอีกเล่า
 
 
หลักของพุทธศาสตร์มีวิชชา 4 อย่าง ปฏิบัติการ 3 อย่าง
วิชชาการ 4 อย่างคือ อริยสัจ
1.   ทุกขอริยสัจ-สภาวธรรม-ธรรมชาติ
2.   ทุกขสมุทัยอริยสัจ-สัจธรรม-กฎของธรรมชาติ-ขบวนการของธรรมชาติ
3.   ทุกขนิโรธอริยสัจ-ปฏิบัติธรรม-หน้าที่ของธรรมชาติ
1.   ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ-ปฏิเวธธรรม-ผลของธรรมชาติ-ปรากฏการณ์ของธรรมชาติ
คุณสมบัติของอริยสัจ
      ลักษณะ?ทนต่อการพิสูจน์
      อาการ?ดำรงอยู่โดยไม่ต้องอาศัยเหตุปัจจัย
      กิจจะ?มีความเป็นสัจจะในสังขารทั้งหลาย ครอบงำสังขารทั้งหลาย
      รส?มีวิมุตเป็นเอหิปัสสิโก เรียกมาดูได้
คุณสมบัติของผู้เห็นรู้อริยสัจ (เห็นรู้ธรรม)
      สัจจานุรักขนา-ตามรักษาซึ่งสัจจะ
      สัจจานุโพธา-ตามรู้ซึ่งสัจจะ
      สัจจานุปัตติ-ตามถึงซึ่งสัจจะ
ปฏิบัติการ 3 อย่างคือ ศีล สมาธิ ปัญญา
1.   (ศีล) ? คุณสมบัติของผู้มีศีล? สัมมาทิฏฐิ  สัมมาสังกัป ?เห็นความสามัญ ดำริความสามัญ
2.   (สมาธิ)บริสุทโธ สมาหิโต กัมนีโย  ?คุณสมบัติผู้มีสมาธิ? สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ-วาจาสัจ การกระทำที่ปราศจากตัวตนดำรงค์ชีวิตโดยธรรม ดำเนินไปโดยธรรม
3.   (ปัญญา)  ?คุณสมบัติของผู้มีปัญญา? สัมมาสติ สัมมาสมาธิ เห็นรู้ในกองสังขารธรรมคบอริยสัจ 4
 
(ถ้าผู้ไดเห็นธรรม 4 อย่างผู้นั้นเห็นพุทธ  ผู้นั้นก็จะ เป็นพระพุทธ  เห็นพระธรรม  เป็นพระสงฆ์ มี ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นปฏิบัติธรรมโดยมัชฌิมาปฏิปทา โดยปราศจากการเกิดอีกต่อไป)  การเกิดทุกครั้งเป็นทุกข์ทุกครั้ง ถ้าไม่เกิดจะเอาอะไรมาเป็นทุกข์ ทำไม่จึงต้องมาดับทุกข์   ถ้ามีทุกข์แล้วจะดับทุกข์ได้อย่างไร เปรียบเหมือนไฟติดแล้วจะไปดับไฟจะดับได้อย่างไร   ทำไมไม่ทำให้ปัจจัยที่ทำให้ไฟติดไม่สังขารกัน ไฟก็ไม่ติด  ก็เมื่อไฟไม่ติดจะมีความร้อนได้อย่างไร  ก็เช่นเดียวกันเมื่อไม่เกิดก็ไม่เป็นทุกข์ อย่าให้เหตุปัจจัยสังขารกันขึ้นเป็นเราของเรา อย่างที่คำบาลีกล่าวว่า  (อะนิจจา  วะตะ  สังขารา  อุปปาทะวะยะธัมมิโน  ปัชชิตวา  นิรุชฌันติ  เตสัง  วูปะสะโม  สุโข)   สิ่งที่ปรุงกันไม่คงที่วนเวียน ไปเสียจากความหมาย ก็ปราศจากสิ้นเชิง ปลงแล้วซึ้งทุกข์ในที่นั้น     ถ้าท่านเห็นสัจธรรมในกองสังขาร  สิ่งที่อยู่ต่อหน้าเวลานี้เดี่ยวนี้  นี่คือใบไม้ที่อยู่ในมือแม้แต่เล็กน้อยเราก็ใช้ประโยชน์ได้   ส่วนใบไม้ที่มากมายที่ยังไม่ได้อยู่ในมืออย่าเพิ่งไปรู้มันเลย  ไว้เมื่อมันมาอยู่ในเมื่อคอยรู้มันเถิดฯ
 
 
 
ว่าด้วยเรื่องสติปัสฐาน 4
กาย  เวทนา  จิตต  ธรรม
   ก่อนอื่นต้องรู้จักแจ้งในตัวเราเองก่อน คือเบญจขันธ์ ทั้ง 5 อย่าง คือรู้จักอารมณ์ของตัวเราเอง เป็นสมุฐานของการเกิดภพชาติ   เพราะว่าฐาน 4 เป็นที่ตั้งแห่งกิจกรรมของเรา นั่ง ยืน เดิน นอน ถ้าเราไม่รู้อารมณ์ 5 อย่างของเราๆก็เอาอารมณ์ในจำนวน 5 อย่างเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างในจำนวน 5 อย่างนั้น ไปรู้สิ่งที่ถูกรู้เสียก่อน ตามอนุสัยเดิม  ?อยตนนั้นหรือสิ่งนั้นก็ถูกเติมธาตุอะไรลงไปอีกหนึ่งธาตุ หรือหลายธาตุ แล้วจึงได้รู้ ก็ถูกด้วย แต่ทว่าถูกอย่างทีปรุงขึ้นใหม่ นี่แหละคือรู้แบบอวิชชา ไม่รู้ความเป็นไปตามของเดิม เอาอารมณ์ จำนวน 5 อย่างไปเพิ่มเดิมแล้วจึงรู้ เจ้าตัวจึงว่ารู้ถูกแล้ว ก็ถูกแต่ถูกอย่างไรไม่รู้ จึงทำกิจกรรมนั้นไปโดยไม่รู้จบ นี่คือ วตสังขารา ที่ว่าไว้ในบังสุกุลตาย


คู่มืออยู่อย่างนิพพาน 22
05-02-2012 Views: 446
         ต้องรู้ความปกติก่อน จึงจะรู้ความไม่ปกติ
•        ผู้มีศีล คือผู้เห็นความปกติของสิ่งนั้น
•        รูปลักษณ์ที่เป็นศีลปะ คือรูปลักษณ์ที่เป็นปกติ
•        ดูอย่างเป็นศีล  คือดูความปกติ
•        มีศีลปะการใช้ชีวิต คือใช้ชีวิตอย่างปกติในฐานรูปนั้น
•        นิพพาน คือความปกติ
•        อย่าไปหาของที่ไม่รู้จัก  จะไปหาของที่ไม่มี จะพบได้อย่างไร
•        จงรู้สิ่งที่พูด  อย่าเอาความรู้มาพูด
•        จงฟังเรื่อง  อย่าฟังคน
•         
         การศึกษาของเราเวลานี้ เราศึกษาจากบัญญัติส่วนหนึ่ง กับธรรมชาติส่วนหนึ่ง เราต้องมาทำความเข้าใจกับบัญญัติให้ชัดเจน บัญญัติมาจากอรรถ อรรถมาจากธรรม บุคคลใดจะบัญญัติอะไรต้องเห็นธรรมก่อนจึงมาหาความหมายของธรรมนั้นจึงจะบัญญัติลงไป  คำบัญญัตินั้นเป็นแค่สูตรเท่านั้น จงศึกษาสูตรให้เป็นศาสตร์ให้จงได้ ศาสตร์ คือ วิชชาการ คือ อริสัจที่ฟ้าชาย    สิทธัตถะตรัสรู้สิ่งนั้นโดยตน จึงได้ปรากฏขึ้นของความมี  ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นเครื่องมือ ปฏิธรรมโดยวิถีทางของอริมรรคมีองค์ 8 อย่างบริสุทธิ์บริบูรณ์ สงบสันติ นิพพาน  เราท่านจงมาศึกษาส่วนที่เป็นบัญญัติให้ถึง อรรถถึงธรรม อย่าไปมักง่ายกับบัญญัติ จะเป็นปัจจัยให้เสียทิดทางการศึกษาไปเบื่อต้น  จะทำให้ไม่พบศาสตร์นั้นๆได้เลย พุทธศาสตร์เป็นศาสตร์ที่สมบูรณ์ที่สุดในการพัฒนามนุษย์ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ที่สุด เป็นวิชชาบริหารจัดการได้ทุกเงื่อนไข เป็นวิชชา MBA อย่างสมบูรณ์ เพิ่มศักย์ภาพในการทำหน้าที่ ทำไม่เราไปเอาวิชชานี้มาเป็นที่ผึ่งหรือเป็นศาสนาเสียเล่า  จงเอาวิชชาพุทธศาสตร์เป็นคุณสมบัติความประพฤติและความเห็น เป็นตัวเราเอง โดยใช้หลักสูตร 4 อย่างของอริยสัจ คือ ความจริงของสิ่งที่สังขารกันขึ้น อย่างรอบครอบลึกซึ้ง ให้ประจักธรรมชาติของสิ่งนั้นโดยตน  พ้นจากการเวลา เรียกมาให้ตน  คนนำมาปฏิบัติ เป็นปัจจัยให้ปรากฏปัญญา รู้ปัจจัยของกองที่จะสังขารกันขึ้น
หลักสูตรการศึกษา
1.   หลัก 4 คือ อริยสัจ 4 วิชชา 4
2.   วิธีการ 3 คือ ไตรสิกขา ศีล สมาธิ ปัญญา
3.   วิถีทาง 8 คือ อริยมรรคมีองค์ 8 อย่าง
ข้อ 1 จงศึกษาสิ่งที่สังขาร หรือ วิชชาที่เราทำหน้าที่อยู่ โดยหลักอริยสัจ
1.   จงเห็นรู้ ธาตุหรือคุณสมบัติของนั้น   สภาวธรรม  คืออะไร
2.   จงเห็นรู้ กฎสัจจะของสิ่งนั้น   สัจจะธรรม   มาจากอะไร
3.   จงเห็นรู้ หน้าที่ของสิ่งนั้น  ปฏิบัติธรรม    เพื่ออะไร
4.   จงเห็นรู้ ปรากฏการณ์ของสิ่งนั้น ปฏิเวธธรรม โดยวิธีการอย่างไร
ข้อ 2 เมื่อเห็นวิชชา 4 แล้วก็ปรากฏ ศีล สมาธิ ปัญญา  เป็นเครื่องมือปฏิบัติหน้าที่โดยธรรม
1.   ศีล คือ เห็นความสามัญของสิ่งนั้น คิดโดยความสามัญของเรื่องนั้น (สัมมาทิฏฐิ-สัมมาสังกัป)
2.   สมาธิ คือ ความเห็นความรู้ที่บริสุทธิ์  ความชัดเจนมั่นคง ความว่องไวทันเวลา (บริสุทโธ สมาหิโต กัมนีโย)
3.   ปัญญา คือ ความรู้ในสิ่งที่สังขารกันขึ้นอย่างคบถ้วน
ข้อ 3  เมื่อปฏิบัติหน้าที่โดย ศีล สมาธิ ปัญญา  ก็ปรากฏวิธีทาง อริยมรรคมีองค์ 8 อย่าง คือ
1.   เห็นความสามัญ (สัมมาทิฏฐิ)
2.   คิดโดยความสามัญ (สัมมาสังกัป)
3.   วาจาสัจจะ (สัมมาวาจา)
4.   การกระทำไม่มีตัว (สัมมากัมตะ)
5.   ดำรงชีวิตอย่างปกติ (สัมมาอาชีวะ)
6.   ดำเนินไปโดยความมั่นคง (สัมมาวายามะ)
7.   รู้กิจนั้นต่อหน้า (สัมมาสติ)
8.   เห็นรู้อย่าง บริสุทธิ์ ชัดเจนมั่นคง ว่องไวทันเวลา (สัมมาสมาธิ)
เมื่อทำหน้าที่โดยวิถีทางอริยมรรค ก็ปรากฏความสงบสันติ นิพพาน  จะนิพพานชั่วขณะ หรือ นิพพานถาวร ก็คือคุณสมบัติอย่างเดียวกัน
   จะปรากฏอีก 2 องธรรมคือ
1.   เห็นรู้สิ่งนั้น คบถ้วนโดยญาณ อย่างสามัญ         (สัมมาญาณ)
2.   ปราศจากปัจจัยที่จะมาปรุงแต่ง บริสุทธิ์ อตัมยตา (สัมมาวิมุต)
               นี้คือความที่บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยโลกุตรธรรม ๙ อย่าง คือ
มรรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ 
•        อริยมรรค- โสดามรรค อนาคามรรค สกิทานาคามรรค อรหัตมรรค
•        อริยผล- ผลของโสดา ผลของอนาคา ผลของอรหัต
•        นิพพาน
 
 
 
ฝากโลกียธรรมเกิดขึ้นได้อย่างไร
คนประกอบไปด้วยธาตุ  6 คือ
1.   ธาตุดิน
2.   ธาตุน้ำ
3.   ธาตุลม
4.   ธาตุไฟ
5.   อากาศธาตุ
6.   วิญญาณธาตุ
ความเป็นธาตุแบ่งเป็น รูปธาตุ เป็นนามธาตุ   (เป็นฮาร์ดแวร์ กับ เป็นซอฟต์แวร์)
มีความเห็นโดยปกติของความเป็นคนการอุบัติมาเป็นแค่คน มีอายตนใน อาตนะ 6  ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ  อายตนะนอกตนเป็นปัจจัย 6 รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมมารมณ์
     การปรากฏสมุฐาน แห่งภพทรั้ง 3  เมื่อรูปปรากฏในวิญญาณ 6
1.   วิญญาณทางตา
2.   วิญญาณทางหู
3.   วิญญาณทางจมูก
4.   วิญญาณลิ้น
5.   วิญญาณทางกาย
6.   วิญญาณทางใจ
 อายตนะรู้รูปธาตุไม่ได้จรึงให้ความหมายทางดีทางไม่ดีนั้นก็ปรากฏผัสสะ
 
เบญจขันธ์
1.   ผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอารมณ์            (รูปขันธ์)
2.   รู้สึกต่ออารมณ์                            (เวทนาขันธ์)
3.   มันหมายในอารมณ์นั้น                (สัญญาขันธ์)
4.   นึกคิดปรุงแต่งในสิ่งที่มั่นหมายนั้น (สังขารขันธ์)
5.   รู้อารมณ์ที่ปรุงแต่งนั้น                  (วิญญาณขันธ์)
เมื่อขันธ์ 5 ได้หยั่งลงในหมู่สัตว์นั้น เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นอนุศัยกิเลส เป็น สมุฐานการเกิดภพชาติ ของ กามภพ รูปภพ อรูปภพ เป็นขบวนการวัฏฏะ  เมื่อธาตุรู้ไปรู้ขันธ์ไม่ใช้วิชชา เป็นอวิชชา ก็เกิด ดังนี้
 
มีต่อ 23

วิธีฝึกสติ
1.   เริ่มต้น ให้รู้สิ่งที่ตนพูด พูดเรื่องอะไร ที่พูดต้องการอะไร จงพูดสิ่งที่ถูกรู้ อย่าเอาความรู้มาพูด เอาความรู้ไว้รู้สิ่งที่ถูกรู้   ฝึกจนคล่องแคล่วเป็นบุคลิกภาพของตน
2.   ขั้นที่สอง ให้ฟังคนอื่นพูดว่าพูดอะไร อย่าไปใส่ความหมายดีชั่วต่อคำพูดนั้น  คำพูดทั้งหลายมีอยู่สองอย่างเท่านั้น คือ คำบอกเล่า กับคำถามเท่านั้น    ฝึกให้คล่องแคล่วเป็นบุคลิกภาพของตน
ก็จะทำให้มีสติเป็นปัจจัยให้มีสมาธิทำหน้าที่ต่อกิจการนั้น มีความคิดที่สะอาด มีความรู้ที่สว่างทำกิจอย่างสงบ

ทำไมการศึกษาไทยจึงล้มเหลว
            เพราะเราไปศึกษาสิ่งที่เป็นจุลภาคก่อนแต่กลับไม่รู้สิ่งที่เป็นมหภาค เรามองข้ามสิ่งที่เป็นมหภาคไป จึงไม่ได้ศึกษาในสิ่งที่เป็นมหภาคให้ชัดเจนก่อน  เช่น เมื่อเราจะเรียนการซ่อมรถ ถ้าเราจะต้องไปเรียนเรื่องอะไหล่รถก่อน ทั้งๆที่ยังไม่รู้จักกายภาพของรถหรือลักษณะของรถ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าอะไหล่ชิ้นนี้มีคุณสมบัติทำหน้าที่อะไร หรือถ้าหากศึกษาที่จุลภาคอย่างเดียว ก็ไม่ต่างจากที่ว่ารู้ว่าอะไหล่ชิ้นนี้คืออะไร แต่กลับไม่รู้ว่าอยู่ในส่วนไหนของรถ เป็นต้น ซึ่งจะเอาไปทำอะไรได้ เรียนมาให้เขาใช้เท่านั้น คนที่ทำงานที่ยังต้องให้เขาใช้อยู่จะทำงานได้ดีได้อย่างไร นี่คือลักษณะของการศึกษาที่ผิดขั้นตอนที่ไม่เป็นธรรมชาติของวิชานั้นๆ
        และในอีกกรณีหนึ่งคือ การทำปฐมนิเทศสำหรับอธิบายฐานหรือเค้าโครงของสาขาวิชานั้นๆ เช่น สาขาวิชานิติศาสตร์ ต้องให้ทำความเข้าใจก่อนว่านิติคืออะไร และศาสตร์คืออะไร เพื่อจะได้ให้เห็นเค้าโครงและบุคลิกภาพของสาขาวิชานั้น เป็นต้น และทุกๆวิชาก็เช่นเดียวกัน ทั้งสังคมศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์ นิเทศศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ เป็นต้น และยังต้องสอนให้นักศึกษาอ่านหนังสือได้และอ่านหนังสือออกด้วย เพราะฉะนั้นจึงจะต้องให้เรียนเรื่องของมหภาคก่อนให้ชัดเจน แล้วจึงค่อยเรียนในเรื่องของจุลภาค เพื่อให้รู้เรื่องถึงคุณสมบัติ รู้กฎของธรรมชาตินั้นๆ รู้กิจของธรรมชาตินั้นๆ รู้ผลของธรรมชาตินั้นๆ  จึงจะสมบูรณ์ในการศึกษาวิชานั้นๆ เมื่อรู้วิชาการอย่างชัดเจน ก็จะมี ศีล สมาธิ ปัญญา ไปทำหน้าที่นั้นๆอย่างไม่มีปัญหา และยังได้ผลผลิตที่สมบูรณ์
        ให้แก้ไขในการสอน ใหม่ สอนให้อ่านบทบัญญัติให้ออก ให้รู้บัญญัติ ให้รู้อัฐ ให้รู้ธรรม  ให้สอนมหภาคให้ชัดเจนก่อน แล้วจึงสอนจุลภาคให้ชัดเจน ใช้หลักอริยสัจเป็นการแสดงสอน  หลักอริสัจ 4 คือ  1 สิ่งนั้นคืออะไร 2 สิ่งนั้นมาจากอะไร 3 สิ่งนั้นเพื่ออะไร 4 โดยวิธีใด เมื่อขัดเจนต่อธรรมชาติ 4 อย่างแล้วก็จะมี ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นเครื่องมือทำหน้าที่ต่อวิชานั้นโดยวิถีทางที่สมบูรณ์  นี่ความสัมฤทธิ์ผลของการศึกษา                                                                                                                                                                                                   
การแก้ไขการศึกษาได้อย่างไร
          ก่อนอื่นต้องทำให้ครูรู้จักวิชานั้นให้ครบถ้วน ไม่ใช่ท่องจำมา  ต้องไม่ใช้หลักสูตรที่ต่างหรือเหมือนกัน มาอ้างอิง เทียบเคียง หรือ เปรียบเทียบ ซึ่งจะทำให้ไม่เกิดระบบการท่องจำขึ้นมา  เพราะระบบการใช้หลักสูตรที่ต่างหรือเหมือนกัน มาอ้างอิง เทียบเคียง หรือ เปรียบเทียบนั้น จะทำให้ไม่รู้จักสิ่งนั้น และในเมื่อไม่รู้จักสิ่งนั้นจะเห็นถึงมิติของสิ่งนั้นได้อย่างไร เมื่อเป็นอย่างนี้จะทำให้เกิดการวิเคราะห์ได้อย่างไร และยังทำให้การวิพากษ์วิจารณ์ปรากฏได้อย่างไม่แน่ชัด 
   โทษของการอ่านหนังสือไม่ออก ซึ่งก็หมายถึง อ่านได้แต่กลับอ่านไม่ได้ใจความ หรือ อ่านได้แต่กลับอ่านและเข้าใจผิดไปเอง ดังนั้น การอ่านหนังสือไม่ออกจะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยิ่งขึ้น เช่น นักเรียนอ่านหนังสือไม่ออก ทำให้การศึกษาล้มเหลว  ผู้ใหญ่อ่านหนังสือไม่ออก ทำให้สังคมย่ำแย่  ผู้บริหารอ่านหนังสือไม่ออก ทำให้องค์กรวุ่นวายไม่สงบสันติ เป็นต้น และในเวลานี้ผู้คนส่วนใหญ่ จบออกมาอ่านหนังสือไม่ออกแต่อ่านได้ จึงทำให้เข้าใจผิดในภาษาที่ใช้กันอยู่มาก เช่น คำว่า “นิติ” หมายถึง กฎหมาย “ศาสตร์” หมายถึง วิชา “การศึกษา” หมายถึง การเรียนรู้  “สังขาร” หมายถึง ร่างกาย “มนุษย์” หมายถึง คน เป็นต้น คนส่วนใหญ่จะ เช่น คำว่า “นิติศาสตร์” ไม่ได้แปลว่า วิชากฎหมายแล้วจะศึกษาได้อย่างไรก็ต้องเรียนแบบท่องจำก็ได้แบบท่องจำเวลาเอาไปใช้ก็ใช้แบบจำจะถูกกาลเทศได้อย่างไรคำว่านิติบุคลก็ไม่รู้คืออย่างไรกฎหมายในเมืองไทยที่แย่อยู่มากก็เพราะอ่านคำว่านิติเป็นอื่นไป
คำว่านิติแปลว่า บทบัญญัติ เราศึกษานิติศาสตร์ที่บทบัญญัติของกฎหมายเพี่อเป็นเครื่องมือในการดูแลในการใช้กฎหมาย นิติบุคลเป็นบุคลโดยบทบัญญัติ  ศาสตร์แปลว่าอาวุธหรือเครื่องมือ  ศึกษาแปลว่า     ฝึกฝนให้ประจัก  กายสังขารแปลว่าร่างกายนี้สังขารกันขึ้น  มนุษย์ แปลว่า มโนนี้พัฒนามาจากสัตว์
อ่านหนังสือออกแล้วก็เห็นวิชาการ วิธีการก็มีขึ้น ปฏิบัติการก็สมบูรณ์ คืออะไร มาจากอะไร เพื่ออะไร โดยวิธีใด
         ต้องให้ครูเริ่มต้น อ่านบัญญัติให้ออก อ่านออกคือต้องรู้บัญญัติ รู้อัฐ รู้ธรรม ทำให้ครูเห็นมิติของวิชาการนั้นเห็นกายภาพ เห็นภราดร เห็นมัตถภาพ ทำให้ครูรู้จักบัญญัติคำของวิชานั้นครูจะนำเสนอให้กับนักศึกษาทันกาลนั้น ไวพจน์ของครูก็จะทำให้นักศึกษาเห็นภาพพจน์  ก็มีความรู้จัก ก็เกิดขบวนการวิเคราะห์ วิจาร วิภาค ศึกษาวิชาไหนก็ประสพความสำเร็จเอาไปใช้ได้ในหน้าที่การงานนั้น                   

การศึกษาที่ยังอาศัยได้ในไทย
       การศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ พออาศัยได้แค่ 50 เปอร์เท่านั้น  การศึกษาในวัดอาศัยไม่ได้เลยเวลานี้ทำกันหลอกๆทรั้งนั้นกฎระเบียบไม่มีเลยเวลารับนักศึกษาเข้าสถาบันแล้วจะเข้าศึกษาได้อย่างไรมุสากันทั้งวัดคนที่เข้าวัดไปแล้วออกมามีแต่พกความเห็นแก่ตัวกันทั้งนั้นเวลานี้เราหลงประเด็นกันใหญ่ว่าสุขทางโลกไม่ยั่งยืนสุขทางธรรม  มีที่ไหนหรือที่พระพุทธเจ้าแสดงธรรมว่าปฏิบัติธรรมมีความสุขไม่มีอยู่ที่ไหนเลยไม่รู้ไปเอาที่ไหนมาพูดมุสาทั้งนั้น  มีแต่พระพุทธเจ้ากล่าวว่ามาประพฤติพรหมจรรย์ให้สิ้นสุดแห่งทุกข์   เพราะว่าความสุขก็คือความทุกข์ชนิดหนึ่งเท่านั้น นั้นคือทุกข์ที่พอใจ จงมาความเข้าใจเรื่องความสุขกันก่อนที่จะไปหาความสุขทางธรรม ธรรมะไม่ใช่ทำให้คนมีความสุข  ธรรมะทำให้มนุษย์มีความสงบสันตินิพพานเท่านั้น
     ถ้าเรามาศึกษาในสถาบันการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการพอจะอาศัยได้ 50 เปอร์เซ็นเท่านั้นจากนั้นเราต้องแสวงหาเอาเองใช้หลักแสวงหาที่เจ้าชายสิทธัตถะพบความจริงของธรรมชาติ 4 อย่าง คืออริยสัจ เป็นหลักในการแสวงหาเราจะพบทุกสิ่งเราต้องการพบ จะเป็นการศึกษาที่ไปทำหน้าที่ได้อย่างบริสุทธิบริบูรณ์ในหน้าที่การนั้นๆโดยไม่มีปัญหาสงบสันตินิพพาน
      หลักอริยสัจ 4 คือ
1.   ธรรมชาติ =คืออะไร (สภาวธรรม)                                             
2.   กฎธรรมชาติ=มาจากอะไร(สัจธรรม)
3.   หน้าที่ธรรมชาติ=เพื่ออะไร (ปฏิบัติธรรม)
4.   ปรากฏการธรรมชาติ=โดยวิธีใด (ปฏิเวธธธรรม)
เมื่อหลักอริยสัจ 4ขัดเจนก็มี ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นวิธีการปฏิบัติหน้าที่ในวิถีทางอริยมรรคมีองค์ 8 ประการอย่างบริสุทธิบริบูรณ์สงบสันตินิพพานทุกครั้งที่ทำหน้าที่นั้นๆสร้างผลผลิตให้ไม่จนตลอดกาล
(หลัก 4 วิธีการ 3 ปฏิบัติการ 8)

การมีศีล คือ
องค์ประกอบศีล คือ 1 สัมมาทิฏฐิ 2 สัมมาสังกัป เท่านั้นนอกนี้ไม่ใช่  5 ข้อที่กล่าวมานั้นเป็นสิกขาทบ เวลานี้ชาวพุทธกำลังหลงประเด็น สิกขาบทนั้นพระพุทธเจ้าท่านให้ภิกษุสงฆ์ประกาศใช้เมื่อประมาทพรรษาที่ 20 ของพระองค์ ก่อนนี้ไม่มีสิกขาบท คือ อนาปาปาติโมกข์  ที่สวดกันในทุกๆ 15 วัน  ชาวพุทธทั้งหลายลองเอาไปคิดดูให้ดี แล้วก่อนหน้านี้พระพุทธองค์ตรัสรู้ได้อย่างไร  ที่พระพุทธองค์เอามาใช้ทีหลังเพื่อขจักความเป็นคนให้เป็นมนุษย์&

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 20, 2560, 04:09:36 AM โดย admin »